- กฎบัตรคณะกรรมการสรรหา
และพิจารณาค่าตอบแทน - กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ
(ประกาศใช้ 2 ม.ค. 67) - กฎบัตรสายตรวจสอบภายใน
(ประกาศใช้ 2 ม.ค. 67)
วัตถุประสงค์
คณะกรรมการบริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน เพื่อให้ช่วยเสนอแนะนโยบาย รูปแบบและหลักเกณฑ์การสรรหาและการจ่ายค่าตอบแทนของกรรมการ กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับสายงานหรือเทียบเท่า และผู้ที่มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาของระดับคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อย ของบริษัทและบริษัทในกลุ่ม เพื่อให้การสรรหาและการจ่ายค่าตอบแทน มีการปฏิบัติเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี อีกทั้งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์กร
หลักการสรรหาและการกำหนดค่าตอบแทน
- การสรรหากรรมการ กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับสายงานหรือเทียบเท่า และผู้ที่มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาของระดับคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อย ของบริษัทและบริษัทในกลุ่ม จะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องและตามข้อบังคับของหน่วยงานกำกับดูแลอย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงคุณสมบัติที่มีความรู้ความสามารถ เหมาะสมกับวัฒนธรรม วิสัยทัศน์ ภารกิจ และค่านิยมขององค์กร
- การจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับสายงานหรือเทียบเท่า และผู้ที่มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาของระดับคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อย ของบริษัทและบริษัทในกลุ่ม จะต้องสอดคล้องกับขอบเขต หน้าที่ความรับผิดชอบ และอยู่ในระดับที่เพียงพอที่จะดึงดูด รักษา และจูงใจ รวมทั้งสอดคล้องกับผลการปฏิบัติงาน
- การสรรหาและจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับสายงานหรือเทียบเท่า และผู้ที่มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาของระดับคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อย ของบริษัทและบริษัทในกลุ่ม จะต้องมีกระบวนการและขั้นตอนที่ชัดเจนโปร่งใส ปฏิบัติตามหลักของการกำกับดูแลกิจการที่ดี สามารถตรวจสอบได้
องค์ประกอบ และคุณสมบัติ
- ประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อย 3 คน โดยได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัท
- กรรมการส่วนใหญ่เป็นกรรมการอิสระ โดยคุณสมบัติของความเป็นกรรมการอิสระ เป็นไปตามที่บริษัทกำหนดซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของ กลต. และ ตลท. กำหนด
- เลขานุการคณะกรรมการฯ แต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัท หรือแต่งตั้งจากคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน
วาระการดำรงตำแหน่ง
ประธานกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน และกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ดำรงตำแหน่งตามวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการบริษัท
หน้าที่และความรับผิดชอบ
- เสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับการสรรหาและค่าตอบแทนของกรรมการ กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับสายงานหรือเทียบเท่า และผู้ที่มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาฯ ต่อคณะกรรมการบริษัท
- เสนอแนะรูปแบบและหลักเกณฑ์การสรรหาและการจ่ายค่าตอบแทนของกรรมการ กรรมการในคณะกรรมการ ชุดย่อยต่างๆ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับสายงานหรือเทียบเท่า และผู้ที่มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาฯ ต่อคณะกรรมการบริษัท
- พิจารณาหลักเกณฑ์ในการประเมินผลการปฏิบัติงานและประเมินผลงานของ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจและประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับสายงานหรือเทียบเท่า ของบริษัทและบริษัทในกลุ่ม เพื่อประกอบการพิจารณาผลตอบแทนประจำปี
- พิจารณาคัดเลือกและกลั่นกรองบุคคลที่มีคุณสมบัติที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับสายงานหรือเทียบเท่า และผู้ที่มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาฯ เพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริษัท หรือ ผู้ถือหุ้น (แล้วแต่กรณี)
- พิจารณากลั่นกรอง เสนอแนะการแต่งตั้งกรรมการ และกําหนค่าตอบแทน (หากมี) ของคณะกรรมการธุรกิจ (BOB) คณะกรรมการบริหารธุรกิจ (ECB) หรือคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่เทียบเท่า รวมทั้งที่ปรึกษาของคณะกรรมการชุดดังกล่าวข้างต้น และเสนอต่อคณะกรรมการบริหารพิจารณาอนุมัติ
ในกรณีที่กลุ่มธุรกิจฯ เป็นรูปแบบ “บริษัท” คณะกรรมการสรรหาฯ จะพิจารณากลั่นกรอง เสนอแนะการแต่งตั้งกรรมการ รวมทั้งที่ปรึกษาของคณะกรรมการดังกล่าว และกําหนดค่าตอบแทน (หากมี) เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ และนำส่งให้ “บริษัท” นั้นๆ ดําเนินการนําเสนอให้กับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อดําเนินการขออนุมัติตามอํานาจที่กําหนดไว้ในแต่ละบริษัท - เสนอค่าตอบแทนประจำปีของกรรมการ กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับสายงานหรือเทียบเท่า และผู้ที่มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาฯ ตามรูปแบบและหลักเกณฑ์การจ่ายที่ได้กำหนดไว้
- ทบทวนนโยบาย รูปแบบและหลักเกณฑ์การสรรหาและการจ่ายค่าตอบแทนของกรรมการ กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับสายงานหรือเทียบเท่า และผู้ที่มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาฯ ให้เหมาะสมกับหน้าที่ ความรับผิดชอบ และให้สอดคล้องกับภาวะตลาด
- พิจารณาการส่งหรือการที่ผู้บริหารของบริษัทหรือบริษัทในกลุ่ม ไปเป็นกรรมการในบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม รวมทั้งบริษัทที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง
- ติดตามและดูแลให้บริษัทและบริษัทในกลุ่มฯ มีแผนการสืบทอดตำแหน่งและความต่อเนื่องในการบริหารที่เหมาะสม สำหรับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงและตำแหน่งที่สำคัญ ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
- ติดตามและดูแลนโยบายการจ่ายผลตอบแทนของพนักงานให้เกิดความเป็นธรรม แข่งขันกับตลาดได้ และสามารถรักษาพนักงานที่มีคุณภาพและศักยภาพไว้ได้
- ติดตามดูแลการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพของคณะกรรมการ และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ และผู้บริหารระดับสายงาน หรือเทียบเท่า ของบริษัทและบริษัทในกลุ่มอย่างต่อเนื่อง
- ปฎิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย
การประชุมคณะกรรมการ
- คณะกรรมการฯ จะต้องมีการจัดการประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หรือตามที่คณะกรรมการฯ กำหนด
- กรรมการฯ เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคณะกรรมการ และจะต้องมีประธานกรรมการฯ เข้าร่วมประชุมด้วย ในกรณีที่ประธานกรรมการฯ ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ ให้กรรมการที่เหลือเสนอแต่งตั้งจากกรรมการอิสระเพื่อปฏิบัติหน้าที่ประธานที่ประชุมในครั้งนั้นๆ
- มติที่ประชุมถือตามเสียงข้างมากของกรรมการฯ ที่มาประชุมครบองค์ประชุม โดยกรรมการฯ ผู้มีส่วนได้เสีย จะไม่เข้าร่วมในการพิจารณาหรือลงมติในวาระที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
- เอกสารประกอบการประชุมจะต้องส่งให้แก่คณะกรรมการฯ ล่วงหน้า 7 วัน
- ร่างรายงานการประชุมจะต้องดำเนินการส่งให้คณะกรรมการฯ ตรวจสอบความถูกต้องภายใน 14 วัน นับจาก การประชุม
การรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่
- กำหนดให้มีการรายงานผลการปฏิบัติงาน ตามขอบเขตความรับผิดชอบตามกฎบัตรต่อคณะกรรมการบริษัท ภายหลังการประชุมทุกครั้ง และรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานใน แบบ 56-1 One Report
การเปิดเผยข้อมูล
- กำหนดให้คณะกรรมการฯ รายงานและนำเสนอค่าตอบแทนกรรมการที่จ่ายในแต่ละปี ให้กับผู้ถือหุ้นทราบ
- เปิดเผยหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการฯ
- เปิดเผยจำนวนครั้งของการประชุม และจำนวนครั้งที่กรรมการแต่ละท่านเข้าร่วมประชุม
- เปิดเผยรูปแบบหรือลักษณะของการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ
วัตถุประสงค์
คณะกรรมการบริษัท ได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบปฏิบัติหน้าที่เพื่อสนับสนุนด้านการกำกับดูแลกิจการ การสอบทานความถูกต้องเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน ระบบการควบคุมภายใน ระบบการบริหารความเสี่ยง การตรวจสอบภายใน การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องรวมถึงการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของกลุ่มบริษัท ซึ่งหมายถึง บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย/บริษัทร่วมที่มีอำนาจ ควบคุม เพื่อให้การบริหารจัดการงานต่างๆ ของกลุ่มบริษัท เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและโปร่งใส โดยพิจารณาเห็นควรให้ยกเลิก ปก.คกก.001/2565 เรื่องกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 และ ให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นโดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. องค์ประกอบ
- คณะกรรมการบริษัท หรือ ผู้ถือหุ้นเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการตรวจสอบ และกรรมการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- คณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อย 3 ท่าน โดยเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ เพียงพอในการทำหน้าที่สอบทานงบการเงินได้อย่างน้อย 1 ท่าน
- หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในเป็นเลขานุการของคณะกรรมการตรวจสอบ
2. คุณสมบัติ
- เป็นกรรมการอิสระตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และข้อบังคับที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดและ สามารถให้ความเห็นหรือรายงานผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างอิสระ
- สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเพียงพอในฐานะเป็นกรรมการตรวจสอบ
3. วาระการดำรงตำแหน่ง
ประธานกรรมการตรวจสอบและกรรมการตรวจสอบ ดำรงตำแหน่งตามวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการบริษัท
4. หน้าที่ และความรับผิดชอบ
- 4.1 การควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายใน
- 4.1.1 สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal control) และระบบการตรวจสอบภายใน ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล
- 4.1.2 พิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน
- 4.1.3 พิจารณาอนุมัติกฎบัตรหน่วยงานตรวจสอบภายใน
- 4.1.4 พิจารณาอนุมัติแผนการตรวจสอบประจำปีของบริษัทร่วมกับหน่วยงานตรวจสอบภายใน รวมทั้ง งบประมาณที่ใช้ในกระบวนการตรวจสอบ โดยคำนึงถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
- 4.1.5 ดูแลให้ฝ่ายจัดการมีการแก้ไขข้อบกพร่องที่ตรวจสอบพบ และติดตามให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไข ข้อบกพร่องนั้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- 4.1.6 สอบทานหลักฐาน หรือไต่สวนภายในเมื่อมีข้อสงสัยว่ามีการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อองค์กร อย่างมีนัยสำคัญ หรือมีข้อบกพร่อง หรือมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจมีผลต่อการดำเนินงาน หรือระบบการควบคุมภายใน และนำเสนอคณะกรรมการบริษัท พิจารณาต่อไป
- 4.1.7 พิจารณาอนุมัติการแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน
- 4.1.8 ประเมินผลการปฏิบัติงานและพิจารณาอนุมัติค่าจ้าง โบนัส หรือค่าตอบแทนอื่นใดของบุคลากร หน่วยงานตรวจสอบภายใน
- 4.1.9 พิจารณาให้มีการว่าจ้างหน่วยงานภายนอก ทำการประเมินคุณภาพงานตรวจสอบภายใน (IA-IN-HOUSE) หรือ Quality Assessment Review (QAR) อย่างน้อยทุกๆ 5 ปี ตามมาตรฐานการตรวจสอบภายใน
- 4.2 รายงานงบการเงินและการเปิดเผยข้อมูล
- 4.2.1 สอบทานให้บริษัทมีรายงานทางการเงินอย่างถูกต้อง เพียงพอ และเชื่อถือได้เป็นไปตามหลักการบัญชี ที่รับรองทั่วไป
- 4.2.2 พิจารณารายการที่เกี่ยวโยง หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตาม กฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้มั่นใจว่ามีความสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท
- 4.2.3 สอบทานหลักฐานหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัท อย่างมีนัยสำคัญ หรือความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท
- 4.2.4 คณะกรรมการตรวจสอบดำเนินการให้มีการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงในกรณีที่ผู้สอบบัญชีได้แจ้งพฤติการณ์อันควรสงสัยของกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่รับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งมีผลกระทบต่องบการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ และรายงานผลการตรวจสอบเบื้องต้นให้แก่สำนักงาน ก.ล.ต. และผู้สอบบัญชีทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชี
- 4.3 ผู้สอบบัญชี
- 4.3.1 พิจารณาคัดเลือกหรือเลิกจ้าง เสนอค่าตอบแทน และเสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท
- 4.3.2 เข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชี โดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- 4.3.3 เสนอแนะให้ผู้สอบบัญชีสอบทาน หรือตรวจสอบรายการที่เห็นว่าจำเป็นและเป็นเรื่องสำคัญ ในระหว่างการตรวจสอบบัญชีของบริษัทได้
- 4.4 การปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมาย
- 4.4.1 ตรวจสอบว่าบริษัทได้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎระเบียบของหน่วยงานราชการ
- 4.4.2 สอบทานหลักฐาน กรณีมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำใดๆ ที่อาจฝ่าฝืนกฎหมาย หรือ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎระเบียบของหน่วยราชการ ซึ่งมีหรืออาจมีผลกระทบต่อ ฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ
- 4.5 การบริหารความเสี่ยง
สอบทานระบบการบริหารจัดการความเสี่ยง
- 4.6 การกำกับดูแลกิจการ
กำกับดูแลและสอบทานการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี และมาตรการต่อต้าน การทุจริตคอร์รัปชัน
- 4.7 การจัดหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ในกรณีจำเป็นคณะกรรมการตรวจสอบอาจเสนอแนะคณะกรรมการบริษัทให้มีการว่าจ้าง หรือนำผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาร่วมพิจารณาปรึกษาในการแก้ปัญหาของบริษัท
- 4.8 ความรับผิดชอบอื่นๆ
ปฏิบัติหน้าทื่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด หรือคณะกรรมการบริษัทมอบหมาย ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบเห็นชอบด้วย
5. การประชุม
- กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ทั้งนี้อาจมีการจัดการประชุมเพิ่มเติมจากที่กำหนดได้ตามที่เห็นสมควร
- องค์ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วยจำนวนผู้เข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการตรวจสอบทั้งหมด
- คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจเชิญฝ่ายจัดการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ชี้แจงให้ความเห็นหรือ จัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องตามความจำเป็นได้
- กรรมการตรวจสอบที่มีส่วนได้เสียในเรื่องใด กรรมการตรวจสอบท่านนั้นจะไม่เข้าร่วมประชุม หรืองดการ แสดงความเห็นในเรื่องดังกล่าว
6. การรายงาน
- รายงานต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไข กรณีที่มีการกระทำที่อาจมีผลกระทบต่อ องค์กรอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์การทุจริต ข้อบกพร่องที่สำคัญในระบบการควบคุมภายใน การปฏิบัติที่ขัดต่อกฎหมายหรือข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎระเบียบของหน่วยงานราชการ
- จัดทำรายงานสรุปการปฏิบัติหน้าที่ และการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบ แสดงไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท
7. การประเมินผลการปฏิบัติงาน
คณะกรรมการตรวจสอบมีการประเมินตนเองสำหรับการปฏิบัติงานปีละ 1 ครั้ง
ด้วยคณะกรรมการตรวจสอบ กำหนดให้มีกฎบัตรสายตรวจสอบภายใน เพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานของ สายตรวจสอบภายใน ในการประเมินประสิทธิผลและความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน การกำกับดูแลกิจการ ระบบการบริหารความเสี่ยง การเสริมสร้างพัฒนาระบบงานของบริษัทให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร โดยพิจารณาทบทวนและเห็นควรให้ยกเลิกประกาศที่ ปก.คกก.002/2565 เรื่องกฎบัตรสายตรวจสอบภายใน ลงวันที่ 5 มกราคม 2565 และให้ใช้ฉบับนี้แทนโดยมีรายละเอียด ดังนี้
คำนิยาม
“การตรวจสอบภายใน” หมายถึง กิจกรรมการให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษาอย่างเที่ยงธรรมและ เป็นอิสระ เพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กร และช่วยให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกำกับดูแล อย่างเป็นระบบ
วัตถุประสงค์
- เพื่อช่วยคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบและฝ่ายจัดการ ในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ของบริษัท บริษัทย่อยและบริษัทร่วม
- เพื่อประเมินความเพียงพอประสิทธิภาพประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง และการกำกับ ดูแลกิจการของบริษัท บริษัทย่อยและบริษัทร่วม รวมทั้งวิเคราะห์ให้ความเห็นและให้ข้อเสนอแนะ หรือคำปรึกษา อย่างเป็นอิสระเพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่า
- 2.1 การดำเนินงานเกี่ยวกับข้อมูลทางการเงินและการบัญชีมีความน่าเชื่อถือ (Reliability) ถูกต้อง (Accurate) และ รวดเร็วทันเวลา (In-Time) รวมทั้งการบริหารงานมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance)
- 2.2 การบริหารจัดการมีการถือปฏิบัติตามนโยบายของคณะกรรมการบริษัทและเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปฏิบัติตามแผนการปฏิบัติงาน และขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่กำหนดไว้
- 2.3 มีระบบป้องกันและดูแลรักษาทรัพย์สิน
- เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ในบริษัท บริษัทย่อยและบริษัทร่วม
- 3.1 เสริมสร้างระบบการปฏิบัติงาน เพิ่มความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- 3.2 นำเสนอวิธีการเพื่อป้องกันการดำเนินงานที่อาจผิดกฎหมาย การรั่วไหล หรือการทุจริตคอร์รัปชัน
ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบ
- จัดทำแผนการตรวจสอบประจำปี ให้ครอบคลุมถึงกิจกรรมที่ต้องตรวจสอบ โดยจัดลำดับความสำคัญและระดับ ความเสี่ยงของการควบคุมภายในของกิจกรรมนั้นๆ พร้อมทั้งจัดทำแผนอัตรากำลัง และแผนงบประมาณประจำปี
- สอบทานและประเมินการควบคุมภายในของระบบการปฏิบัติงานหน่วยงานในองค์กร ให้ปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับของบริษัท รวมทั้งปฏิบัติตามข้อกำหนด กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- สอบทานความเชื่อถือได้ของข้อมูลทางการเงิน และมิใช่ทางการเงินของบริษัท
- ประเมินความถูกต้องเชื่อถือได้และความเพียงพอของระบบงานต่างๆ และระบบสารสนเทศ รวมถึงความปลอดภัย ของระบบสารสนเทศให้มีการควบคุมภายในที่รัดกุมเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
- สอบทานความเพียงพอและเหมาะสมของการบันทึก การใช้ และการเก็บรักษาทรัพย์สิน
- สังเกตการณ์ ตรวจสอบ สอบทาน หรือ สอบสวนงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูง ในการหาข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน ประเด็นทุจริตคอร์รัปชัน หรือความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- สอบทานการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
- ให้คำปรึกษา คำแนะนำ หรือข้อคิดเห็น ตลอดจนแนวปฏิบัติงานด้านระบบการควบคุมภายใน ระบบการบริหาร ความเสี่ยง การกำกับดูแลกิจการ และมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
- ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
อำนาจในการตรวจสอบ
สายตรวจสอบภายในได้รับอนุมัติและมีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูล ระบบงาน และบุคคลของบริษัทบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตรวจสอบ ตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยผู้บริหารทุกระดับขององค์กร มีหน้าที่ในการช่วยสนับสนุนให้การปฏิบัติงานของสายตรวจสอบภายในบรรลุตามหน้าที่ วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ และเป็นประโยชน์สูงสุดขององค์กร
มาตรฐานการปฏิบัติงานวิชาชีพ
ผู้ตรวจสอบภายใน จะต้องดำรงตนประพฤติปฏิบัติยึดมั่นในกฎระเบียบของบริษัท และยึดหลักมาตรฐานวิชาชีพสากล และจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้อง
ความเป็นอิสระ
กิจกรรมการตรวจสอบ ต้องมีการดำเนินการอย่างเป็นอิสระจากอิทธิพลอื่นใด ทั้งในด้านขอบเขตการตรวจสอบ ขั้นตอน ระยะเวลา เนื้อหาของรายงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานตรวจสอบเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายและเป็นไปตามแผนการตรวจสอบที่วางไว้ ผู้ตรวจสอบภายในไม่มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการปฏิบัติงานประจำของบริษัท ที่มิใช่งานตรวจสอบ
ความสัมพันธ์กับฝ่ายบริหาร และผู้สอบบัญชี
ประสานงานกับผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี เพื่อให้การตรวจสอบภายในครอบคลุมประเด็นที่สำคัญ และประเด็น ที่มีความเสี่ยง
การพัฒนาบุคลากร
- หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในรับผิดชอบการพิจารณาความเพียงพอของบุคลากร และคุณสมบัติของผู้ตรวจสอบภายใน ว่ามีความรู้ความสามารถทักษะในการตรวจสอบต่างๆ ตลอดจนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และความเข้าใจในธุรกิจ ของบริษัท บริษัทย่อย และบริษัทร่วม
- หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในรับผิดชอบในการพิจารณาความดีความชอบ และผลตอบแทนของผู้ตรวจสอบภายใน ตามกรอบนโยบายและระเบียบของบริษัท และนำเสนอคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อพิจารณาอนุมัติ
- หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในต้องส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาผู้ตรวจสอบภายในให้มีทักษะความรู้ ความสามารถ ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
การรายงานผลการตรวจสอบ
หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน เสนอรายงานการตรวจสอบของบริษัท บริษัทย่อย และบริษัทร่วม โดยสรุปประเด็นที่สำคัญหรือประเด็นเร่งด่วนต่อผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการอื่นที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการปฏิบัติงาน
- ปฏิบัติงานตรวจสอบตามแผนงานตรวจสอบประจำปีที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการตรวจสอบ
- การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในเป็นไปในเชิงขอความร่วมมือในการปฏิบัติงาน (Human Relation Approach) เพื่อช่วยเหลือหน่วยงานที่ได้รับการตรวจสอบ รวมทั้งหามาตรการป้องกันและเสริมสร้างระบบการ ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ
- เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในมีหน้าที่ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการขอข้อมูล เอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ รวมถึงข้อมูลในระบบสารสนเทศของทุกระบบงาน
- ผู้ตรวจสอบภายในจะต้องรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพพึงปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง รอบคอบด้วยมารยาทอันดีตลอดเวลา และปฏิบัติงานเยี่ยงผู้มีความรู้ความสามารถพึงกระทำ
- หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน ร่วมกับผู้บริหารหน่วยงานที่รับการตรวจสอบควรมีการหารือ แลกเปลี่ยน ความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ตรวจพบและแนวทางปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง(ถ้ามี) ก่อนที่จะนำเสนอในรายงาน ผลการตรวจสอบ
- จัดทำรายงานผลการตรวจสอบเป็นลายลักษณ์อักษร อธิบายถึงวัตถุประสงค์ ขอบเขตของการตรวจสอบ ข้อบกพร่อง ที่ตรวจพบ และข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไข เพื่อนำเสนอคณะกรรมการตรวจสอบ และผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง
- ผู้ตรวจสอบภายในต้องติดตามผลการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะในรายงานผลการตรวจสอบและติดต่อประสานงานกับ ผู้รับการตรวจสอบ และให้คำแนะนำในการแก้ไขปรับปรุง
- หน่วยงานต่างๆ ต้องได้รับการตรวจสอบเป็นระยะๆ เพื่อพิจารณาว่าได้มีการปฏิบัติตามแผนงาน นโยบาย เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ขององค์กร ตลอดจนระเบียบปฏิบัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ผู้ตรวจสอบภายในต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรม มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีวางตนเป็นกลาง มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน ตามจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบภายในที่กำหนดโดยสมาคมผู้ตรวจสอบภายใน แห่งประเทศไทย
จรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบภายใน
1. ความซื่อสัตย์ (Integrity)
- 1.1 ปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์ ขยันหมั่นเพียร และความรับผิดชอบ
- 1.2 ปฏิบัติตามกฎหมายและเปิดเผยข้อมูลตามที่กฎหมายและวิชาชีพกำหนด
- 1.3 ไม่มีส่วนร่วมโดยเจตนาในกิจกรรมที่ขัดต่อกฎหมายหรือการกระทำที่อาจเสื่อมเสียต่อวิชาชีพ การตรวจสอบภายใน หรือองค์กร
- 1.4 เคารพและสนับสนุนวัตถุประสงค์ที่ถูกต้องตามกฎหมายและหลักจริยธรรมขององค์กร
2. ความเที่ยงธรรม (Objectivity)
- 2.1 ไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือความสัมพันธ์ใดๆ ที่อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือเป็นเหตุ บั่นทอนในการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเที่ยงธรรม
- 2.2 ไม่รับสิ่งตอบแทนใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดความไม่เที่ยงธรรมในการใช้วิจารณญาณเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพพึงปฏิบัติ
- 2.3 เปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญทั้งหมดที่ทราบ ซึ่งหากละเว้นไม่เปิดเผยแล้วอาจทำให้รายงาน ผลการตรวจสอบบิดเบือนไป หรือปิดบังการกระทำผิดทางกฎหมาย
3. การรักษาความลับ (Confidentiality)
- 3.1 รอบคอบในการใช้ และเก็บรักษาข้อมูลที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่
- 3.2 ไม่แสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน หรือเพื่อการใดๆ ขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อวัตถุประสงค์ที่ถูกต้องตามกฎหมายและหลักจริยธรรมขององค์กร
4. ความสามารถในหน้าที่ (Competency)
- 4.1 ปฏิบัติหน้าที่ในงานส่วนที่ตนมีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์
- 4.2 ปฏิบัติงานตรวจสอบภายในโดยยึดมาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายในเป็นหลัก
- 4.3 พัฒนาศักยภาพ ความชำนาญ ประสิทธิภาพ และคุณภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างสม่ำเสมอ